เทคนิคซื้อเพชร : เลือกซื้อเพชรใบเซอร์ไหนดี? GIA หรือ HRD
กว่าเราจะหาซื้อเพชร 1 กะรัต เพื่อทำแหวนหมั้นแหวนแต่งงานได้สักเม็ด ต้องทำการบ้านเพื่อเปรียบเทียบราคาเพชร ติดต่อร้านเพชรออนไลน์ หรือจะเดินตรงเข้าหน้าร้านเพชรเพื่อขอปรึกษาหาความรู้เรื่องเพชรเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อตัวเลือกเพชรมีมากมาย เราจะเลือกอย่างไรเพื่อให้ได้เพชรราคาดี และตรงกับคุณภาพที่ผู้ขายเสนอจริง
สำคัญกว่าการซื้อเพชรที่ไหนดี คือความเข้าใจพื้นฐานในการซื้อเพชร คาเล็ท ไดมอนด์ จึงขอแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อเพชร 5 ข้อ ไว้ ดังนี้ค่ะ
เข้าใจหลักประเมินคุณภาพของเพชรพื้นฐาน เช่น 4Cs (Carat, Color, Clarity, Cut) อันส่งผลต่อราคาเพชร
เลือกซื้อเพชรที่มีใบเซอร์เพชร จากสถาบันเกรดเพชรที่ได้การยอมรับทั่วโลก เช่น GIA HRD
ศึกษาองค์ประกอบใบเซอร์เพชรของแต่ละสถาบันอย่างละเอียด
เข้าใจหลักเกณฑ์การเกรดเพชร และข้อแตกต่างกันระหว่าง GIA และ HRD
ตรวจสอบเพชรให้ตรงกับใบเซอร์ เช่น ส่องกับตัวหนังสือ ใช้เครื่องชั่ง ดูผ่านกล้องขยาย
แน่นอนว่า การซื้อเพชรมักมาคู่กับการอ่านใบเซอร์เพชร (Diamond Certificate) หรือ ใบรับรองคุณภาพเพชร ที่ระบุรายละเอียดคุณภาพของเพชร ตามหลัก 4Cs ไม่ว่าจะเป็น Carat / Color / Clarity และ Cut รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ เช่น Fluorescence หรือ เพชรติดฟลู หรือไม่ รูปทรงของเพชร เพชรเล่นไฟดี ตำแหน่งของตำหนิต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการมีใบเซอร์จะทำให้คุณอุ่นใจเวลาซื้อเพชร หรือขายเพชรต่อ ว่าเป็นเพชรแท้แน่นอน 100%
ใบเซอร์เพชรก็มีหลายสถาบัน อาทิ GIA HRD IGI คำถามคือว่า แล้วใบเซอร์เพชรสถาบันไหนดีล่ะ? คาเล็ท ไดมอนด์ จะขอเล่าถึงใบเซอร์เพชรแต่ละแบบ เพื่อปูพื้นฐานให้คุณสามารถอ่านใบเซอร์เพชรได้อย่างถูกต้อง และใช้เป็นแนวทางการซื้อเพชรในอนาคตอีกด้วยค่ะ
1.ใบเซอร์ GIA
ใบเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ GIA ย่อมาจาก Gemological Institute of America เป็นสถาบันด้านอัญมณีศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2474 เพื่อสร้างมาตรฐานในการวิเคราะห์และประเมินอัญมณีในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ถือเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานของเพชรรายแรก ๆ ของโลก รวมถึงผลิตนักวิเคราะห์อัญมณีที่ดีที่สุด จึงได้รับการยอมรับในเรื่องการประเมินเพชรและเครื่องประดับ รวมถึงการออกใบรับรองต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานมากที่สุดในอุตสาหกรรมจิวเวลรี ปัจจุบันมีสำนักงานใน 13 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ ใบเซอร์เพชร GIA มีทั้งหมด 2 ชนิด ทั้งแบบย่อ สำหรับเพชรที่มีขนาดต่ำกว่า 1 กะรัต และ แบบเต็ม สำหรับเพชรขนาด 1 กะรัต ขึ้นไป ได้แก่
1.1 ใบเซอร์ GIA แบบย่อ สำหรับเพชร 0.30 กะรัต จนถึงเพชร 0.99 กะรัต
1.2. ใบเซอร์ GIA แบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัต ขึ้นไป
2. ใบเซอร์ HRD
ใบเซอร์อีกค่ายหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ ใบเซอร์ HRD ย่อมาจาก Hoge Raad voor Diamant (Diamond High Council) เป็นองค์กรด้านอัญมณีศาสตร์ของยุโรป ก่อตั้งเมื่อปี 2516 มีสำนักงานอยู่ที่เดียวคือ เมืองแอนต์เวิร์ป (Antwerp) ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรและศูนย์กลางการเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับหน้าตาของใบเซอร์ HRD จะมี 2 แบบ ทั้งแบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป และ แบบย่อ สำหรับเพชรต่ำกว่า 1 กะรัตลงมา ดังภาพ
2.1 ใบเซอร์ HRD แบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป
2.2 ใบเซอร์ HRD แบบย่อ สำหรับเพชรต่ำกว่า 1 กะรัตลงมา
ทั้งใบเซอร์ HRD และ ใบเซอร์ GIA ต่างก็มีลักษณะใบเซอร์ที่คล้ายกัน โดยที่ใบเซอร์ฉบับย่อ จะมีการระบุว่า มีตำหนิของเพชรประเภทไหนบ้าง แต่ไม่ได้ระบุว่า อยู่ตรงตำแหน่งไหนของเพชร ขณะที่ใบเซอร์ฉบับเต็ม จะมีการจำแนกประเภทของตำหนิพร้อมแสดงตำแหน่งของตำหนิในเนื้อเพชรด้วย นอกจากนี้ใบเซอร์แบบเต็มยังได้เสนอรูปแบบการเจียระไนของเพชรเม็ดนั้น ๆ ว่ามีการเจีย (Facet)ในรูปแบบไหนด้วย
วิธีการวัดและประเมินเกรดของเพชร
มาตรฐานหลักการประเมินคุณภาพเพชร ทั้งในใบเซอร์ GIA และ ใบเซอร์ HRD ต่างก็ใช้องค์ประกอบ 4Cs (Carat, Color, Clarity Cut) ทั้งคู่ เปรียบเทียบดังตารางได้ดังนี้ค่ะ
ตาราง A วิธีการวัดและประเมินเกรดของเพชร
แล้วใบเซอร์ GIA หรือ ใบเซอร์ HRD อันไหนดีกว่ากันล่ะ?
ทั้ง GIA และ HRD ต่างก็มีมาตรฐาน เกณฑ์การประเมินคุณภาพ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เป็นของตัวเอง อีกทั้งวิธีการวัดเกรดเพชรใบเซอร์ GIA และใบเซอร์ HRD ก็มีความคล้ายกัน เช่น สี Exceptional White - Exceptional White+ ของ HRD เทียบเท่า Colorless ของ GIA เป็นต้น
แต่ถ้าพูดถึงเกณฑ์ในการเกรดเพชรของทั้งสองสถาบันนั้น ต่างกันแน่นอน คาเล็ท ไดมอนด์ จึงขออธิบายให้เห็นภาพการเกรดเพชรทั้งสองสถาบัน ดังตาราง B
ตาราง B เปรียบเทียบ GIA VS HRD
จากตาราง B เกิดจากการที่ลองนำเพชรหนึ่งเม็ด ส่งไปทำใบเซอร์กับ GIA และหลังจากนั้น นำเพชรเม็ดเดียวกันนี้ ส่งไปทำใบเซอร์กับ HRD จะเห็นภาพได้ชัดเจนถึงความแตกต่างในเกณฑ์การประเมินของทั้งสองสถาบัน โดยที่ GIA จะให้คุณภาพต่ำกว่า HRD อย่างน้อย 1-2 เกรด
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น ถ้า HRD เกรดเพชรเม็ดนี้ว่าเป็น 1 กะรัต F/VVS2 เพชรเม็ดเดียวกันนี้จะมีโอกาสสูงมากที่จะได้เกรด 1 กะรัต G-H/VVS2-VS1 เมื่อส่งไปเกรดกับ GIA
ในมุมมองของผู้ซื้ออาจคิดว่าเพชร HRD นั้นมีคุณภาพสูงกว่า และได้ราคาที่เท่ากันหรือต่ำกว่า GIA ทำให้เพชร HRD ดูราคาถูกกว่าขึ้นมาทันที
แต่หารู้ไม่ว่า เป็นเพราะ หลักเกณฑ์ของ HRD ต่างหากที่ประเมินคุณภาพเพชรให้สูงกว่า GIA จึงทำให้ผู้ซื้อหลายท่านเข้าใจว่าได้เพชรในคุณภาพที่สูงกว่าในราคาที่ถูกกว่า และมองสองสถาบันเป็นเพียงผู้การันตีคุณภาพ แต่ไม่ได้เข้าใจถึงเกณฑ์การประเมินคุณภาพเพชรที่แท้จริง
เราต้องเข้าใจก่อนว่า การซื้อขายเพชรใบเซอร์ GIA ได้รับความนิยมและกว้างขวางที่สุดในตลาดค้าขายเพชร อีกทั้ง GIA ลงรายละเอียดลึกในการคัดเกรดและประเมินคุณภาพเพชร เพื่อสะท้อนคุณสมบัติที่แท้จริงของเพชรให้มากที่สุด หากคุณถือเพชรใบเซอร์ HRD อยู่ เราขอแนะนำให้ลดเกรดเพชร HRD ลงมา 1-2 เกรด เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าที่แท้จริงกับเพชรใบเซอร์ GIA ค่ะ
หลายคนคิดว่า เพชรใบเซอร์ GIA มีราคาแพง ขณะที่เพชรใบเซอร์ HRD ราคาถูก คาเล็ท ไดมอนด์ ขอบอกเลยว่าเพชรที่มีใบรับรอง GIA ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีราคาแพงกว่าเพชรที่มีใบรับรอง HRD เสมอไป สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือ เพชรสเปคเดียวกันแต่ใบเซอร์คนละแบบ หากคุณไม่เข้าใจมาตรฐานการให้เกรดของแต่ละสถาบัน อาจทำให้คุณต้องจ่ายเงินซื้อเพชรในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง นั่นหมายความว่า คุณอาจได้เพชร F Color ในราคา D Color แต่ถ้าโชคดีคุณอาจได้เพชรสเปคที่ถูกใจราคาเหมาะสมไปครอง
มองหาเพชรแท้ GIA HRD IGI หรือ สอบถามราคาเพชร เพชรกลม หรือเพชรแฟนซีต่าง ๆ คุณภาพ GIA สามารถพูดคุยกับเราได้ที่
Facebook: Calette Diamonds เพชร GIA แหวนเพชร แหวนหมั้น
Instagram: calette_diamonds
Website: www.calettediamonds.com
Line: @Calettediamonds ใส่@ข้างหน้าด้วยนะคะ