Nickel Allergy อาการมันเป็นยังไง? แพ้เครื่องประดับ แพ้ “นิกเกิล” ในเครื่องประดับ
เครื่องประดับกับผู้หญิงมักเป็นของคู่กัน บางชิ้นมีดีไซน์สวยน่าสวมใส่แต่พอใส่นานวันเข้า กลับมีผื่นแดง คัน บางครั้งก็น้ำเหลืองไหลซึมออกมาด้วย สงสัยว่าเราจะแพ้เครื่องประดับ แพ้ทอง หรือแพ้โลหะอะไรหรือเปล่า
จริงๆ แล้วอาการแพ้ที่เกิดขึ้น มาจากโลหะของ “นิกเกิล” (Nickel) เข้าไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนบนชั้นผิวหนังจนเกิดอาการแพ้ สำหรับโลหะนิกเกิล มักเจอในเครื่องประดับที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความมันวาวและแข็งแรงขึ้น
ในบรรดาจิวเวลรีที่ฝังเพชรจะใช้ทองสูงสุด 75% อีก 25% ที่เหลือเป็นอัลลอยต่าง ๆ ซึ่ง 25% ตรงนี้นี่แหละที่เป็นช่องโหว่ให้ผู้ผลิตสามารถผสมโลหะหนักเข้าไป รวมถึงตะกั่ว นิกเกิล ได้ จิวเวลรีหลายแบรนด์ที่จำหน่ายในสหรัฐและยุโรปจึงใช้เครื่องประดับที่ไม่ผสมนิกเกิล (Nickel Free Jewelry)
เมื่อปี 2537 สหภาพยุโรป (EU) ออกกฎระเบียบฉบับหนึ่งชื่อว่า EU Nickel Directive มีการแก้ไขปรับปรุงมาต่อเนื่อง เพื่อจำกัดปริมาณส่วนผสมของนิกเกิลไม่เกิน 0.05% ของสินค้าที่มีการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง รวมถึง เครืองประดับ จิวเวลรี เพื่อมุ่งลดอาการแพ้และสะสมในร่างกายจากการสัมผัสนิกเกิลโดยตรง
เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ที่มีกฎระเบียบที่ควบคุมปริมาณโลหะในเครื่องประดับ จิวเวลรี ต่างๆ เรียกว่า California Proposition 65 เพื่อจำกัดปริมาณสารเคมีกว่า 800 ชนิดและโลหะหนัก อาทิ นิกเกิล ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ทาเลท ทั้งนี้ ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเครื่องประดับ จะต้องชี้แจงว่า ผู้บริโภคจะได้รับสารตะกั่วจากเครื่องประดับ ในปริมาณที่เกินกำหนด 0.5 ไมโครกรัมต่อวันหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีการควบคุมปริมาณนิกเกิลและสารโลหะหนักอื่น ๆ ในเครื่องประดับอย่างเข้มงวด แถมผู้ผลิตบางรายพยายามเลี่ยงบาลีด้วยการใช้คำว่า “Nickel Free” ด้วยการชุบด้วยโลหะที่ไม่ผสมนิกเกิล แต่ด้านในตัวชิ้นงานกลับผสมนิกเกิลในปริมาณสูงร่วมกับโลหะราคาถูกอื่น ๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความคงทน ต่อให้สวมใส่เครื่องประดับเหล่านี้ ช่วงแรกอาจปกติดี แต่เมื่อโลหะที่ชุบเกิดลอกขึ้นมา นิกเกิลก็จะทำปฏิกิริยากับผิวหนังจนเกิดอาการผื่นแพ้โลหะ แพ้เครื่องประดับ จนเกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวได้ค่ะ
แบรนด์ คาเล็ท ไดมอนด์ ของเราใช้ทอง 75% หรือ 18K Gold พร้อมด้วยโลหะผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น พาลาเดียม เงิน ทองแดง ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานส่งออกยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงไม่เกิดการแพ้แน่นอนค่ะ
มองหาเพชรแท้ GIA HRD IGI หรือ สอบถามราคาเพชร เพชรกลม หรือเพชรแฟนซีต่าง ๆ คุณภาพ GIA สามารถพูดคุยกับเราได้ที่
Facebook: Calette Diamonds เพชร GIA แหวนเพชร แหวนหมั้น
Instagram: calette_diamonds
Website: www.calettediamonds.com
Line: @Calettediamonds ใส่@ข้างหน้าด้วยนะคะ